วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สรุป 9 บท เเละ กรณีศึกษา

บทที่ 1 จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

-  สรป
จริยธรรม หมายถึง "หลัก ศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ" ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย

- กรณีศึกษา

การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำราญ เช่น การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตการ ใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตการละเมิดลิขสิทธิ์

บทที่ 2 จริยธรรมสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
-สรุป“ข้อแนะนำ” หรือ “บทบัญญัติ” ที่มีการบังคับใช้ในหน่วยงานเฉพาะเท่านั้น
บัญญัติ 10 ประการในการใช้คอมพิวเตอร์

1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำอันตรายผู้อื่น
2. ต้องไม่แทรกแซงหรือรบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานหรือพยานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกซอฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์ โดยไม่จ่ายค่าลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยไม่ได้รับ
อนุญาติ
8. ต้องไม่ละเมิดสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากโปรแกรมที่ท่านกำลังเขียนหรือออกแบบอยู่เสมอ
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพต่อ
กฏระเบียบ กติกา และมีมารยาท
กรณีศึกษา

เรื่องนี้เป็นคำพิพากษาฎีกาเมื่อปี 2543 ที่ผ่านมานี่เองครับ เป็นคดีสำคัญที่ผู้ศึกษากฎหมายโดยทั่วไปส่วนมากจะรู้จัก โดยเฉพาะในวิชากฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยพยานหลักฐาน คำพิพากษาฎีกาของจริงนี่จะยาวมากๆแต่ที่ผมยกมาจะอยู่ในรูปของการเล่าเรื่องมากกว่า ไม่ใช่เป็นฎีกาโดยย่อแต่อย่างใด เพียงอยากให้รู้ว่าคดีนี้ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร และผลของคำพิพากษาเป็นอย่างไร
จากข้อมูลที่ผมได้มามีคำพิพากษาของสองศาลคือ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางและของศาลฎีกา ซึ่งแน่นอนครับ ผลของคำพิากษาต่างกัน
โจทก์ (บริษัทไมโครซอฟ คอร์ปอเรชั่น) ฟ้องว่า จำเลย (บริษัท เอเทค คอมพิวเตอร์ จำกัด) ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ได้แก่ โปรแกรมไมโครซอฟท์วินโดวส์ 3.11,ไมโครซอฟ์วินโดวส์ 95 ไทย อิดิชั่น,ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ, ไมโครซอฟท์ อินเตอร์เนท เอ็กพลอเรอร์ ฯลฯ โดยทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวลงในสื่อบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่อง (Hard Disk) ของจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาต และได้ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายและแจกจ่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ดังกล่าวแก่ลูกค้าของจำเลย อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โดยรู้หรือควรรู้ว่าโปรแกรมดังกล่าวทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ และไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายอาญา และขอให้จ่ายค่าปรับครึ่งหนึ่งแก่โจทก์
ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์และเป็นเจ้าของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งถือว่าเป็นงานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรมอันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
โจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ และประเทศไทยเป็นภาคีร่วมอยู่ด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในเบื้องต้นว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องเนื่องจากได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนโดยชอบหรือไม่ ในประเด็นนี้จะไม่ขอกล่าวถึงในรายละเอียด แต่อยากให้รู้ไว้ว่าอำนาจฟ้องคดีสำคัญมากในการพิจารณาคดี ผู้ที่จะฟ้องคดีได้ต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้ ไม่เช่นนั้นศาลจะไม่รับพิจารณาคดีให้ คดีก็จะเป็นอันตกไป
และหากศาลสั่งจำหน่ายคดีแล้วจะนำคดีมาฟ้องใหม่ในมูลความผิดเดิมไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ส่วนในคดีนี้เป็นเรื่องการมอบอำนาจให้ตัวแทนในประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการ และข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ดำเนินการโดยชอบแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องโดยชอบ

คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยประการต่อไปว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่
โจทก์มีนาย S (ชื่อสมมุติ) เป็นประจักษ์พยานในการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยได้รับการว่าจ้างจากโจทก์ให้ทำการตรวจสอบว่าจำเลยได้ละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์หรือไม่ พยานจึงติดต่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยดังเช่นลูกค้าทั่วไปที่สำนักงานสาขาของจำเลย
พยานได้พบจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานขายของจำเลยที่ 1 ซึ่งเสนอขายเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยที่มีโปรแกรมของโจทก์ตามฟ้องติดตั้งอยู่ในเครื่องโดยไม่ได้รับอนุญาต และให้มารับเครื่องในวันถัดไปอีก 5 วัน ในวันนัดรับเครื่องจำเลยที่ 3 และช่างเทคนิคของจำเลยที่ 1 ได้แสดงการทำงานของเครื่องให้พยานดูจนเป็นที่พอใจ พยานจึงซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวมา และได้ทำรายงานพร้อมกับรวบรวมหลักฐานการซื้อขายและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดส่งให้แก่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์
พยานโจทก์อีกปากหนึ่งเบิกความว่า ได้รับการติดต่อให้มาทำการตรวจสอบเครื่อง
คอมพิวเตอร์ดังกล่าวว่ามีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์หรือไม่ จากการตรวจสอบพบว่ามีการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ตามฟ้องไว้แล้วในเครื่อง โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนั้นได้มีการทำซ้ำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์และมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรหัสประจำโปรแกรมของแต่ละโปรแกรมใหม่ และระหว่างทำการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ นาย S ได้แอบทำการบันทำการสนทนาระหว่างนาย S กับจำเลยที่ 3 ไว้ด้วย
ทางนำสืบฟังได้ว่า โปรแกรมต่างๆของโจทก์ที่ถูกติดตั้งอยู่บน Hard Disk ของคอมพิวเตอร์นั้น ได้ถูกคัดลอกและทำสำเนามาจาก Hard Disk ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น นอกจากนั้นจากการตรวจสอบรหัสโปรแกรม (Serial Number) ของโปรแกรมโจทก์ที่ถูกติดตั้งอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์พบว่าเลขรหัสที่ปรากฎเป็นเลขรหัสที่ถูกทำลายไปแล้ว ไม่ใช่เลขรหัสที่โจทก์กำหนดไว้ใช้กับโปรแกรมของโจทก์แต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์นั้นเป็นโปรแกรมที่ถูกทำซ้ำขึ้นมา โดยมีการแก้ไขเลขรหัสต่างๆ
และที่สำคัญคือ ไม่ปรากฎหลักฐานยืนยันความถูกต้องของโปรแกรมของโจทก์ดังกล่าว
ซึ่งพยานโจทก์เบิกความว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ที่ถูกต้องนั้นต้องมีเอกสารประกอบยืนยันว่าเป็นของแท้ ซึ่งได้แก่ หนังสือรับรองว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นของแท้ (Certificate of Authenticity) หนังสือสัญญาข้อตกลงระหว่างโจทก์และผู้ใช้ (End-User License Agreement for Microsoft Software) ใบลงทะเบียนผลิตภัณฑ์ หนังสือคู่มือการใช้งาน และแผ่นซีดีรอม (CD -ROM) หรือแผ่นดิสค์เก็ต (Diskette) ที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จึงแสดงให้เห็นได้ว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นโปรแกรมที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์
กรณีต้องวินิจฉัยประเด็นต่อไปว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นนิติบุคคลและจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้จัดการได้ร่วมกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความข้างต้นหรือไม่
ประเด็นนี้ความสำคัญอยู่ที่ข้อความที่ถอดออกมาจากเทปที่แอบบันทึกระหว่างนาย S กับพนักงานขายความว่า "So I, Atec can give you if you need but it have no license" แปลเป็นภาษาไทยว่า "เอเทค ให้คุณได้ถ้าคุณต้องการ แต่มันไม่มีใบอนุญาต" ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าการจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์โดยติดตั้งโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาตนั้น มิได้เป็นการกระทำเฉพาะจำเลยที่ 3 เท่านั้น พฤติการณ์น่าเชื่อว่าพนักงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับบริหารของบริษัทจำเลยที่ 1 ย่อมมีส่วนรู้เห็นกับการกระทำของจำเลยที่ 3 ด้วย
จากข้อเท็จจริงที่ได้ความจากพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักรับฟังได้มั่นคงโดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง ส่วนพยานของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่มีน้ำหนักพอรับฟังหักล้างพยานโจทก์ได้
พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 และ 2 มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ อันเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานทำซ้ำซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์เพื่อการค้าตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 400,000 บาท จำคุกจำเลยที่ 2 เป็นเวลา 1 ปี และปรับ 300,000 บาท
ความผิดฐานแจกจ่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้าตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 200,000 บาท จำคุกจำเลยที่ 2 เป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน และปรับ 150,000 บาท รวมลงโทษปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 600,000 บาท จำคุกจำเลยที่ 2 เป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน และปรับ 450,000 บาท
เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยได้รับโทษจำคุกมา
ก่อน เห็นควรให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดีต่อไป โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา แต่ให้ขังได้ไม่เกิน 1 ปี และให้จ่ายค่าปรับกึ่งหนึ่งแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
จริงๆแล้วคำพิพากษายาวมากกว่านี้ ก็ยกมาเฉพาะประเด็นที่อยากนำเสนอเท่านั้น คือ ประเด็นเรื่องโทษของการละเมิดลิขสิทธิ์ว่ามีผลรุนแรงมากน้อยเพียงใด อยากให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยก็ให้ความสำคัญกับเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน หากมีพยานหลักฐานเพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิด ทั้งนี้ หากสนใจฎีกาเต็มอาจค้นหาได้ที่www.cipitc.or.th หรือที่ www.thaijustice.com ขอขอบคุณเวบไซต์ทั้งสองแห่งมาพร้อมนี้ด้วยครับ
ที่เสนอไปเป็นคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
กลาง ส่วนของศาลฎีกาในคดีเดียวกันนี้ (คดีนี้ได้มีการอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาเพื่อตัดสินชี้ขาด) มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เนื่องจากเห็นว่า ความผิดเกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของโจทก์ (นาย S ) เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดดังกล่าวขึ้น โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดี พิพากษากลับ โดยให้ยกฟ้องโจทก์ ในส่วนนี้เป็นเรื่องที่ผู้ศึกษากฎหมายจะต้องทำความเข้าใจในเรื่องการล่อซื้อ ชาวไอทีทั้งหลายไม่ต้องกังวลครับ


บทที่ 3 อาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ 
     1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับ ความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน 
     2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ และในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี ต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน 
     การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบ หนึ่งที่มีความสำคัญ 

กรณีศึกษา

.Morris Case การเผยแพร่หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm)โดยนายโรเบิร์ต ที มอริส นักศึกษา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล 
     หนอน (worm) สามารถระบาดติดเชื้อจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ โดยมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว 
     ;ศาลตัดสินจำคุก 3 ปี แต่ให้รอลงอาญา โดยให้บริการสังคมเป็นเวลา 400 ชั่วโมง และปรับเป็นเงิน 10,050 ดอลลาร์สหรัฐ 

บทที่ 4 ความเป็นส่วนตัว

ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ

กรณีศึกษา

“กบ สุนิสา“งานเข้า ภาพสุดเซ็กซี่จากมือถือหลุด



กรณีนี้เป็นเรื่องการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

สิทธิส่วนบุคคล ตามความหมายของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ คือ สิทธิของบุคคลที่ประกอบไปด้วยสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว


เนื่องจากการโพสต์ภาพและข่าวดังกล่าวเป็นภาพส่วนตัวจากมือถือของผู้เสียหายที่ถ่ายไว้ และการเผยแพร่ภาพและข่าวดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายเนืื่องจากถูกขโมย แล้วนำภาพถ่ายส่วนตัวออกมาเผยแพร่

ผู้ให้บริการจึงมีความผิดตาม

รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ 

มาตรา ๓๕     สิทธิ ของ บุคคลใน ครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจน ความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับ ความคุ้มครอง
            การกล่าว หรือ ไขข่าว แพร่หลาย ซึ่ง ข้อความ หรือ ภาพ ไม่ว่าด้วยวิธีใด ไปยัง สาธารณชน อันเป็น การละเมิด หรือ กระทบถึง สิทธิ ของ บุคคลใน ครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือ ความเป็นอยู่ส่วนตัว จะกระทำ มิได้ เว้นแต่ กรณีที่ เป็นประโยชน์ ต่อ สาธารณะ
            บุคคล ย่อมมี สิทธิ ได้รับ ความคุ้มครอง จาก การแสวงประโยชน์ โดยมิชอบ จาก ข้อมูล ส่วนบุคคล ที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

มาตรา ๔๒๐     ผู้ใดจงใจหรือประมาเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแกชีวิต ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี ท่านว่าผู็นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น


พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ 

มาตรา ๑๔     ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
   (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
  (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม .....(๔)


บทที่ 5 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

แม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะให้เสรีภาพมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ควรมีการกำกับดูแลเลย หลักการของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นคือ สังคมประชาธิปไตย พลเมืองจำเป็นต้องรู้ข้อมูลและเหตุผลรอบด้าน เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจดังนั้น เราจึงต้องให้มีการแสดงความคิดเห็นของทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยกับเรา และไม่เห็นด้วยกับเรา เราไม่อาจใช้ตัวเราเป็นมาตรฐานวัดว่า เว็บใดควรถูกปิด เว็บใดไม่ควร

กรณีศึกษา


นายเดวิด ลิปแมน หัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย กล่าวว่าการจัดงานเสวนาครั้งนี้ เพื่อแสวงหาความร่วมมือกับประเทศไทยในการยกระดับมาตรฐานสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งถือว่าเป็นหลักการสากล ที่สหภาพยุโรปให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยประเทศไทย ก็ได้แสดงท่าทีที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับสิทธิเสรีภาพในประเทศ จึงเกิดเป็นความร่วมมือกันในครั้งนี้ขึ้นมา


บทที่ 6 ทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ" มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ โดยอาจแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลัก คือ (1)ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมและ (2)ลิขสิทธิ์ สำหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังแบ่งออกได้อีก 5 ประเภท ได้แก่ (1)สิทธิบัตร (2) เครื่องหมายการค้า (3) แบบผังภูมิของวงจรรวม (4) ความลับทางการค้า และ (5)สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์


กรณีศึกษา “กระทิงแดง”
เครื่องหมายการค้า “กระทิงแดง” ซึ่งใช้กับเครื่องดื่มบำรุงกำลังชนิดหนึ่ง มีประวัติความ

เป็นมาที่น่าสนใจยิ่ง จากธุรกิจเล็กๆ บริเวณถนนเอกชัย ธนบุรี ที่เริ่มจากพนักงานเพียง 10
กว่าคน จนถึงปัจจุบัน กระทิงแดงเป็นเครื่องหมายการค้าเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงในระดับ
โลก ก็ยังมีการบริหารพัฒนาไปอีกอย่างต่อเนื่อง


บทที่ 7 คุณภาพของซอฟต์แวร์


Software ตามหลักเกณฑ์ประกอบไปด้วย
1. คุณภาพด้านการใช้งาน หรือ Usability 
2. คุณภาพด้านประสิทธิภาพ หรือ Efficiency 
3. คุณภาพด้านความทนทาน หรือ Reliability
4. คุณภาพด้านการบำรุงรักษา หรือ Maintainability 
5. คุณภาพด้านการนำมาใช้ใหม่ หรือ Resusability

กรณีศึกษา

ในปี ค.ศ. 1998 มหาวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาแห่งนาวาล (Naval Postgraduate School) ในสหรัฐอเมริกา ได้ริเริ่มหลักสูตรปริญญาเอกสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นครั้งแรกในโลก[ต้องการอ้างอิง] Steve McConnell ได้ให้ความเห็นว่า เป็นเพราะมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีการเรียนการสอนวิทยาการคอมพิวเตอร์มากกว่าวิศวกรรมซอฟต์แวร์ จึงทำให้ขาดแคลนวิศวกรซอฟต์แวร์ที่แท้จริง ในปี ค.ศ. 2004 สมาคมคอมพิวเตอร์แห่ง IEEE ได้พัฒนา องค์ความรู้ สำหรับสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ หรือเรียกว่า Software Engineering Body of Knowledge จนได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ISO (ISO/IEC TR 19759:2005

บทที่ 8 กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ


การกระทำอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ มักจะเป็นไปในรูปแบบดังนี้
1. การฉ้อโกงโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินจำนวนชั่วโมงการทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
2. การปลอมแปลงโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบฐานข้อมูลหรือทำการ Download ข้อมูลมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
3. การทำให้ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เสียหาย เช่น การเขียนโปรแกรมไวรัสเพื่อทำลายข้อมูล หรือแฝงมาในแฟ้มข้อมูลที่ผู้ใช้ทำการ Download
4. การทำลายระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การก่อกวนการรับ-ส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย
5. การลักลอบเข้าไปในเครือข่ายโดยปราศจากอำนาจ เช่น การลักลอบดูข้อมูล รหัสประจำตัวหรือรหัสผ่าน


กรณีศึกษา

กองปราบจับเว็บไซต์หมิ่นสถาบัน



เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 6 มี.ค. ที่กองปราบปราม พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร รองผบช.ก. พ.ต.อ.สาธิต ตชยภพ รองผบก.ป.พร้อมกำลังนำหมายค้น ศาลอาญา เลขที่ 183/ 2552 ลงวันที่ 5 มี.ค. 2552 เข้าตรวจค้นสำนักงานเว็บไซต์ประชาไท ตั้งอยู่เลขที่ 409 ชั้น 1 อาคาร มอส. ซอยประชาราษฎร์บำเพ็ญ5 แขวงและเขตห้วยขวาง กทม. ทั้งนี้นการตรวจค้นดังกล่าวทางเจ้าหน้าที่ได้รับการร้องเรียนจากทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ว่าเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ประชาไทออนไลน์ (www.prachatai.com) มีการโพสต์ข้อความลักษณะหมิ่นเบื้องสูง ในช่วงตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. 51-วันที่ 3 พ.ย. 51 ต่อเนื่องกัน เหตุเกิดในพื้นที่เขตพระนคร เขตปทุมวัน และเขตห้วยขวาง กทม.

สำหรับหลักฐานดังกล่าวเป็นข้อความภายในเว็บไซต์ดังกล่าว ที่เข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูงมากกว่า 40 ข้อความ เจ้าหน้าที่จึงรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขอหมายค้น นอกจากนี้ยังได้ขอออกหมายจับน.ส.จีรนุช เปรมชัยพร อายุ 42 ปี ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท อยู่บ้านเลขที่48/282 ซอยรามคำแหง 104 แขวงและเขตสะพานสูง ตามหมายศาลอาญา เลขที่ 551/2552 ข้อหากระทำผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา14 (1) (3) (5) เป็นผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำผิด นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน, นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่จะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงประเทศ, และเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมฯตาม (1) (3) (5) และผิดพ.ร.บ.คอมฯมาตรา 15

นอกจากนี้หลังการตรวจค้นภายในสำนักงานเว็บไซต์ดังกล่าว เจ้าหน้าที่ก็ได้ยึดคอมพิวเตอร์โน้ต บุ๊กของน.ส.จีรนุชมาตรวจสอบ พร้อมกับเชิญตัวมาดำเนินคดีที่กองปราบปรามด้วย เบื้องต้นจากการสอบสวนผู้ต้องหาได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา อ้างว่าข้อความดังกล่าวที่อยู่ในเว็บไซต์ประชาไทเป็นข้อความของผู้ที่เข้ามาอ่านข่าวสารในเว็บและเขียนไว้ในเว็บบอร์ดสาธารณะของเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งภายหลังเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเว็บไซต์ตรวจพบก็ได้ลบข้อความที่มีเนื้อหาเชิงหมิ่นเบื้องสูงก็ได้ลบทิ้งหมดแล้ว

ต่อมาดร.ฉันทนา บรรพศิริโชติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ใช้ตำแหน่งหน้าที่ขอประกันตัวน.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ออกไป

บทที่ 9 จริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์

จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อบังคับของ เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่ายการใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต

กรณีศึกษา

ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒๖๙
/๑  ผู้ใดทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริงหรือเพื่อใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น